เกี่ยวกับโรงเรียนสาธิตฯ

 

โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Phetchaburi Rajabhat University Demonstration School

 

032-708623

เบอร์โทรโรงเรียนสาธิตฯ

ประวัติโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ด้วยที่ตั้งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร การคมนาคมสะดวก และมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรียังมีบุคลากรที่มีศักยภาพอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนที่ทันสมัย แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จุดแข็งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จึงจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีขึ้น
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีได้จัดตั้งขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2552 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 และประกาศจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลลานนท์ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัต กลิ่นงาม เป็นประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ดำเนินการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โดยรับนักเรียนเพื่อเข้ามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4 ซึ่งแผนการเรียนของนักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายทุกห้องเป็นแผนการเรียน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เท่านั้น เนื่องจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นโรงเรียนที่พัฒนาหลักสูตรเพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างคนดี คนเก่งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และการสร้างค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ หลักสูตรและการจัดเรียนการสอนเป็นไปตามมาตรฐานของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการรูปแบบการสอนเน้นทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศ มีการใช้ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกันกับนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย

บุคลากรของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในช่วงเริ่มต้นจะใช้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นหลัก โดยได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ทุกคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มาสอนให้กับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีทุกห้องและทุกชั้น ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะวิทยาการจัดการ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งมีการรับอาจารย์ใหม่ประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีด้วย ซึ่งการบริหารบุคลากร ยึดหลักการบริหารบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ประการสำคัญโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีดำเนินการขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการของนักศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาโดยรูปแบบการฝึกปฏิบัติการของนักศึกษานั้น ประกอบด้วย การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภายในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 3-4 และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภายนอกมหาวิทยาลัยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 5 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ที่จำเป็นต้องใช้โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการสอน มีทั้งหมด 10 สาขา รวม 4 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ สาขาพลศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ สาขาเคมี สาขาชีววิทยา สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ สาขาสังคมศึกษา สาขาภาษาไทย สาขานาฏดุริยางศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเกษตรศาสตร์

นอกจากนี้โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้เป็นสถานที่เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาสำหรับนักเรียนในระดับปริญญาตรี สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิต ทั้ง 10 สาขา 4 คณะ ระดับบัณฑิตศึกษา 4 สาขาหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน สาขาบริหารการศึกษา สาขาการสอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรวมทั้งเป็นสถานที่ศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาการเรียนการสอนของคณาจารย์ทุกคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการจัดการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบายให้คณาจารย์จากทุกคณะมาสอนให้กับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมุ่งหวังให้โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้กับโรงเรียนต่างๆในเขตพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและใกล้เคียง

วิสัยทัศน์ :

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศ ให้มีความสามารถแข่งขันด้านวิชาการในระดับสากล นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้มีความรู้คู่คุณธรรมอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าและมีความสุข

พันธกิจ

  1. ดำเนินการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย และพัฒนาหลักสูตรกระบวนการการจัดการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้สำหรับใช้ในโรงเรียนที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

  2. ส่งเสริมและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ในการทดลอง ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์กรความรู้ด้านศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ

  3. ดำเนินการและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน

 

อัตลักษณ์โรงเรียน ” ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ กตัญญู มีภาวะผู้นำ “

เอกลักษณ์ของโรงเรียน ” เป็นเลิศทางวิชาการ ผสานคุณธรรม พัฒนากิจกรรมนักเรียน “

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน 

ราชภัฏสัญลักษณ์

ราชภัฏสัญลักษณ์ได้หลอมรวมมาจากสัญลักษณ์เดิมของวิทยาลัยครูจำนวน 36 สถาบัน ให้คงเหลือความเป็นหนึ่งในรูปแบบสัญลักษณ์ใหม่เพียงรูปแบบเดียว โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อการสื่อความหมายง่ายต่อการจดจำมีจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสถาบัน
การกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์ของสถาบันราชภัฏ
รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้กำเนิดสถาบันราชภัฏ
รูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติและความสอดคล้องกับชื่อสถาบันราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน

สีของสัญลักษณ์ ประกอบด้วยสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ดังต่อไปนี้
สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของสถาบันราชภัฏ 36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


การพัฒนารูปแบบตัวอักษรของราชภัฏสัญลักษณ์
แสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจนในกรณีการปรับเปลี่ยนแผนการศึกษาของชาติที่เด่นชัด โดยพัฒนาระบบการศึกษาที่เริ่มจากบ้าน วัด วัง และโรงเรียนตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดสำคัญเมื่อทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยทรงใช้กระบวนการทางปัญญาแก้ปัญหาของระบบการพัฒนาประเทศ ตัวอักษรจึงเป็น ส่วนประกอบสำคัญในการจัดวางรูปแบบตามสัญลักษณ์ ปรับตัวอักษรไทยให้มีโครงสร้างในลักษณะใกล้เคียงระบบสากล คือใช้อักษรโรมันแบบ Gothic หรือตัวอักษรอังกฤษแบบ Old English ตัวอักษรล้านนาและตัวอักษรขอม พัฒนาประกอบเข้าด้วยกันเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์รูปแบบตัวอักษรให้สามารถแทนค่าความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัยและแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์

รูปแบบของตราสัญลักษณ์
อัญเชิญดวงตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันโดยมีอุณาโลมสีทองขอบสีส้มประดับบนเศวตฉัตร 3 ชั้นล่าง ด้านล่างของเศวตฉัตร ในวงกลมเปลี่ยนจักรซึ่งหมุนรอบอุณาโลมเดิมเป็นลายไทยสีทองบนพื้นเขียว พร้อมทั้งขอพระราชทานพระปริมาภิไธยย่อ “ภปร” สีทอง ขอบสีส้มประดับในวงกลมซึ่งมีพื้นสีน้ำเงินเส้นขอบสีขาว เปลวของดวงตราลัญจกรสีทองขอบสีส้มสามสิบหกเปลวอยู่เหนือพื้นที่ภายในวงรีสีน้ำเงิน วงรีนอกของดวงตราด้านบนเป็นชื่อเดิมภาษาไทยของสถาบันราชภัฏทั้ง 36 แห่ง รวมทั้งสภาสถาบันราชภัฏ และมีลายประจำยามปิดหน้าและท้ายตัวอักษร ด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษ ตัวอักษรสีทองบนพื้นเขียวและล้อมวงรีทั้งด้านในและด้านนอกด้วยเส้นสีทองทับ

ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระราชลัญจกร
“พระราชลัญจกร” แบ่งออกได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าตราแผ่นดิน สำหรับประทับ กำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ หรือกำกับนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ หมายถึง พระตราที่ใช้ประทับกำกับพระปริมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการ แผ่นดิน
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันเป็นรูปกลมรี ตั้งแปลงไปกว่าพระราชลัญจกรองค์อื่น ๆ ดังกล่าวแล้วลายกลางเป็นรูปพระมหาอุณาโลมอยู่ภายในวงจรรอบวงจักรีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ

การที่ผู้กำหนดรูปแบบพระราชลัญจกร ดังนี้ มีอธิบายว่า หมายถึง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินโดยที่ผู้แทนทั้งแปดน้อมนำแผ่นดิน และความเป็นใหญ่มาถวายเป็นสัญลักษณ์ แห่งวันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณีที่เสด็จประดับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ และสมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกโดยทิศทั้งแปด และครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดั่งในรัชกาลก่อนเนื่องมาจากพระปรมาธิปไธย “ภูมิพล” ซึ่งหมายถึง กำลังแผ่นดิน เมื่อจะกำหนดรูปแบบออกมาไม่มีอะไรเหมาะเท่าพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งเป็นพระแท่นแปดเหลี่ยมซึ่งถึงจะอย่างไรก็ได้ชื่อว่าตั้งอยู่บนแผ่นดิน เป็นกำลังแผ่นดิน

พระราชลัญจรประจำพระองค์ ดังกล่าวข้างต้นนั้น สำหรับใช้ประทับกับพระปรมาภิไธยในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน เช่น ประทับในประกาศนียบัตรเหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น

โครงสร้างการบริหารโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

บุคลากรโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ดร.สรรเสริญ เลาหสถิตย์

ดร.สรรเสริญ เลาหสถิตย์

ผู้อำนวนการโรงเรียน
เบอร์ติดต่อ : 032-708647 เบอร์ภายใน 8647
e-mail : sunsern.lao@mail.pbru.ac.th

1. อาจารย์วรภัทร์ อินทร์ประสิทธิ์

การศึกษา :
   – วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยมหิดล
   – วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โทรศัพท์ : 087-5664224

E-mail : alohasense@gmail.com

2. อาจารย์ ดร. ศิวพร มามาตร

การศึกษา :
   – ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
   – วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
   – วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โทรศัพท์ : 084-1390852

E-mail : siwaporn.mam@mail.pbru.ac.th

3. อาจารย์วิทิต มูลวงค์

การศึกษา :
   – วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
   – วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โทรศัพท์ : 089-7414704

E-mail : witid.mou@mail.pbru.ac.th

4. อาจารย์วิชชุดา ขำประถม

การศึกษา :
   – ปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ม.ศิลปากร
   – ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาโทภาษาญี่ปุ่น(เกียรตินิยมอันดับ 2) ม.เกษตรศาสตร์

โทรศัพท์ : 087-0414527

E-mail : mikung45@hotmail.com

5. อาจารย์ธีรศักดิ์ วังเวงจิต

การศึกษา :
   – ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต เอกศิลปกรรมดนตรี

โทรศัพท์ : 092-8495955

E-mail : cat2530_maew@hotmail.com

6. อาจารย์วิฑูรย์ คุ้มหอม

การศึกษา :
   – ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด) สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร
   – ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม) สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
   – ศิลปศาสตรบัณฑิต(ศศ.บ) (เกียรตินิยม2) สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
   – ศึกษาศาสตรบัณฑิต(ศษ.บ) สาขามัธยมศึกษา-สังคมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   – ศึกษาศาสตรบัณฑิต(ศษ.บ) สาขาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

โทรศัพท์ : 096-6834554

E-mail : win_981@hotmail.com

7. อาจารย์จรรยา อุดมทรัพย์

การศึกษา :
   – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   – วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาเคมีวิศวรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โทรศัพท์ : 083-6999626

E-mail : kwang_janya@hotmail.com

8. อาจารย์วุฒิ สาระรัตน์

การศึกษา :
   – วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตฟิสิกส์ประยุกต์
   – วิทยาศาสตรบัณฑิตฟิสิกส์ประยุกต์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม

โทรศัพท์ : 032-708623

E-mail : wthbuddanoi@gmail.com

9. อาจารย์ธีรพงศ์ สามพ่วงบุญ

การศึกษา :
   – ครุศาสตรบัณฑิต สังคมศึกษา (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

โทรศัพท์ : 032-708623

E-mail : naytee1992@gmail.com

10. อาจารย์พรนภัส ทองพูล

การศึกษา :
   – ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
   – ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร (เกียรตินิยมอันดับ 2)

โทรศัพท์ : 032-708623

E-mail : p_dreammy@hotmail.com

11. อาจารย์ธนวรรณ จันทกูต

การศึกษา :
   – ปริญญาโท สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   – ปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โทรศัพท์ : 097-2563228

E-mail : kookkaisc@hotmail.com

12. ว่าที่ร้อยตรี ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรณ

การศึกษา :
   – ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ไทยศึกษา (ภาษาและวรรณกรรม) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
   – ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาษาไทย (เกียรตินิยมอันดับ 2) วิชาเอก ภาษาไทย วิชาโท ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โทรศัพท์ : 092-8746569

E-mail : phsjom@hotmail.com

13. อาจารย์วิชาญ แฟงเมือง

การศึกษา :
   – ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วท.ม. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
   – ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา) วท.บ.

โทรศัพท์ : 094-6193095

E-mail : chan_1090@hotmail.com

14. อาจารย์ณิชาพัฒน์ ธนอิทธิพัทธ์

การศึกษา :
   – ครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โทรศัพท์ : 084-1584192

E-mail : nishapatoom@gmail.com

ผลงานที่ภาคภูมิใจ

ติดต่อหน่วยงาน

โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

38 หมู่ 8 ถ.หาดเจ้าสำราญ ต.นาวุ้ง
อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000