ประวัติความเป็นมา

ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี Phetchaburi Rajabhat University เป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็น เวลากว่า 90 ปี โดยเริ่มมีหลักฐานการก่อตั้งครั้งแรกที่ตําบลอู่เรือ จังหวัดราชบุรี จากการเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู กสิกรรมประจําจังหวัดราชบุรี ในปี พ.ศ. 2469 ต่อมาจึงได้มีหลักฐานยืนยันว่าได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2468 ณ พื้นที่วัดท่าโค (ร้าง) ริมฝั่งนํ้าแม่กลอง ตําบลอู่เรือ จังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงมีวิวัฒนาการตามลําดับดังนี้

พ.ศ. 2470

ย้ายมาอยู่ในเขตพระราชวัง พระรามราชนิเวศน์(วังบ้านปืน) ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และรับนักศึกษาเข้าฝึกหัดตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน

พ.ศ. 2476

ยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเพชรบุรีในปีต่อมา

พ.ศ. 2481

ย้ายสถานที่ไปตั้งบริเวณวัดเกตุตำ บลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. 2485

เปิดสอนนักเรียนฝึกหัดครูประชาบาลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูลเพชรบุรี

พ.ศ. 2491

ยกเลิกหลักสูตรครูประชาบาล และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี

พ.ศ. 2506

ย้ายมาตั้งอยู่ที่ตำ บลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีบนเนื้อที่ 200 ไร่เศษ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งปัจจุบัน

พ.ศ. 2512

เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง และยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูเพชรบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม

พ.ศ. 2519

ยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพ.ศ. 2518

พ.ศ. 2535

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2538

ยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏเพชรบุรีตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

พ.ศ. 2547

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

พ.ศ. 2548

เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาหลักสูตรและการสอน สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขา บริหารธุรกิจ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์

พ.ศ. 2550

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ปริญญาโท 13 สาขาวิชา และปริญญาเอก 3 สาขาวิชา

พ.ศ. 2551

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา โดยมีโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัย ชนชาติกวางสี วิทยาลัยภาษาต่างประเทศตงฟาง วิทยาลัยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกวางสี และมหาวิทยาลัยชน ชาติยูนนาน โดยนักศึกษาจากสถาบันดังกล่าวมาเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 1 ปี) และ หลักสูตรปริญญาตรี วิชาภาษาไทย (2 ปี)

พ.ศ. 2552

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา โดยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี วิทยาลัยภาษาต่างประเทศตงฟาง วิทยาลัย ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกวางสี และมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 1 ปี) และหลักสูตรปริญญาตรี วิชาภาษาไทย (2 ปี)

พ.ศ. 2553

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 42 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับ Xiangsihu College of Guangxi University for Nationalities, Yunnan Minzu University, Guangxi University of Foreign Languages, Southwest Forestry University และ Qujing Normal University โดยนักศึกษาจีนมาศึกษาวิชาภาษาไทยหลักสูตรประกาศนียบัตร 1 ปี (3+1) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีส่งนักศึกษาไทยสาขาวิชาภาษาจีนไปเรียนวิชาภาษาจีน หลักสูตร 1 ปี ที่มหาวิทยาลัย ดังกล่าว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการโรงแรม กับมหาวิทยาลัยตามความร่วมมือในประเทศสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ได้แก่ National Pingtung University of Science and Technology, Chung Chuo University of Science and Technology, Transworld University, Shih Chien University และ Dayeh University เริ่มปีการศึกษา 2556 จนถึงปีจจุบัน โดยนักศึกษาไทยไปฝึก ประสบการณ์วิชาชีพที่ประเทศไต้หวันเป็นเวลาคราวละ 2 เดือน และนักศึกษาไต้หวันเดินทางมาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพที่สถานประกอบการโรงแรมพื้นที่ ชะอํา-หัวหิน เป็นเวลา 2-6 เดือน จนถึงปัจจุบัน

และในปีนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พ.ศ. 2554

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 52 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา

พ.ศ. 2555

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 49 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ป.บัณฑิต 1 สาขาวิชา

พ.ศ. 2556

มีหลักสูตรที่เปิดระดับปริญญาตรี 45 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร รวมทั้งหมด 52 หลักสูตร และเป็นหลักสูตรที่มีวิชาชีพรับรอง ได้แก่ คุรุสภา 13 หลักสูตร สภาวิศวกร 2 หลักสูตร เนติบัณฑิตยสภา 1 หลักสูตร สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 1 หลักสูตร สภาวิชาชีพบัญชี 1 หลักสูตร และ ดําเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ หลักสูตรทุกหลักสูตร

พ.ศ. 2557

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 49 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ป.บัณฑิต 1 สาขาวิชา

และในปีนี้สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ โดยเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตร์รุ่นแรกในปี การศึกษา 2557 จํานวน 70 คน มีโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20 มหาวิทยาลัย เน้นมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน 7 แห่ง ไต้หวัน 4 แห่ง กัมพูชา 1 แห่ง สปป.ลาว 2 แห่ง เวียดนาม 2 แห่ง มาเลเซีย 2 แห่ง อินโดนีเซีย 1 แห่ง และบรูไน 1 แห่ง โดยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ทั้งด้านการ เรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวิจัยศิลปวัฒนธรรม วัสดุทางวิทยาศาสตร์และสื่อสิ่งพิมพ์

พ.ศ. 2558

ในปีการศึกษา 2558 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 51 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร และหลักสูตร ป.วิชาชีพครู 1 หลักสูตร

พ.ศ. 2559

ในปีการศึกษา 2559 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 45 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร และหลักสูตร ป.วิชาชีพครู 1 หลักสูตร

พ.ศ. 2560

เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จำนวน 43 สาขาวิชา ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี จำนวน 15 สาขาวิชา จาก 8 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 สาขาวิชา และเปิดสอนระดับปริญญาโท 6 สาขาวิชา รวมเปิดสอนทั้งหมด 65 สาขาวิชา

พ.ศ. 2561

เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จำนวน 43 สาขาวิชา ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี จำนวน 15 สาขาวิชา จาก 8 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 สาขาวิชา และเปิดสอนระดับปริญญาโท 6 สาขาวิชา รวมเปิดสอนทั้งหมด 65 สาขาวิชา

พ.ศ. 2562

ปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จำนวน 44 สาขาวิชา ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี จำนวน 14 สาขาวิชา จาก 8 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 สาขาวิชา และเปิดสอนระดับปริญญาโท 6 สาขาวิชา รวมเปิดสอนทั้งหมด 65 สาขาวิชา

พ.ศ. 2563

เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จำนวน 35 สาขาวิชา ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี จำนวน 14 สาขาวิชา จาก 8 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 สาขาวิชา และเปิดสอนระดับปริญญาโท 6 สาขาวิชา รวมเปิดสอนทั้งหมด 56 สาขาวิชา

พ.ศ. 2564

เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จำนวน 32 สาขาวิชา ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี จำนวน 14 สาขาวิชา จาก 8 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 สาขาวิชา และเปิดสอนระดับปริญญาโท 6 สาขาวิชา รวมเปิดสอนทั้งหมด 53 สาขาวิชา