อบรมหลักสูตร เรื่อง “AUN-QA Overview &AUN-QA implementation and Gap Analysis 15 มกราคม 2020nisanti sinprasertข่าวสื่อสารองค์กร จำนวนผู้ชม : 224 อบรมหลักสูตร เรื่อง “AUN-QA Overview &AUN-QA implementation and Gap Analysis ประธานหลักสูตรและผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมอบรมหลักสูตร เรื่อง “AUN-QA Overview &AUN-QA implementation and Gap Analysis การจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยงานพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จัด โครงการอบรมหลักสูตร เรื่อง “AUN-QA Overview &AUN-QA implementation and Gap Analysis การจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้” เมื่อช่วงเช้าวันที่ 15 มกราคม 2563 ณ ห้องเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีประธานหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตลอดจนเจ้าหน้าที่หลักสูตร เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541 เป็นเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลกลไกการประกันคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยทำการสนับสนุน พัฒนา และประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้แนวทางเชิงประจักษ์ ผ่านการทดสอบ ประเมิน ปรับปรุงและเผยแพร่ ทั้งนี้รูปแบบของ AUN-QA ประกอบด้วยมิติทางกลยุทธ์ ระบบยุทธวิธีการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นการให้ความมั่นใจว่าสถาบัน ระบบ หรือหลักสูตรมีนโยบายและกลไกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และมาตรฐานของตนเอง สามารถปรับใช้ได้กับมหาวิทยาลัยในอาเซียน ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับกรอบประกันคุณภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ซึ่งขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาให้ความสำคัญ และสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้บริหารและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร รวมถึงมีแนวคิดที่จะช่วยสนับสนุนความเข้มแข็งทางการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรที่ดีขึ้นและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในอนาคต สำหรับการอบรมในเรื่องดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ และเข้าใจความสอดคล้องของ OBE, TQF กับเกณฑ์ AUNQA สามารถพัฒนา ปรับปรุง และออกแบบโครงสร้างหลักสูตรและรายละเอียดรายวิชา รวมทั้งจัดทำแผนที่กระจายความรับผิดชอบผลการเรียนรู้ตามแนวคิด OBE โดยใช้เกณฑ์ AUN QA เป็นแนวทาง สามารถอธิบายแนวคิดในการออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน และวิธีการประเมินได้อย่างเชื่อมโยง และสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาและหลักสูตร ทั้งนี้นอกจากจะได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายให้ความในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหัวข้อ และอภิปราย สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย # รายงานโดย กลุ่มงานสื่อสารองค์กร มหาิวทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine