คณะครุศาสตร์ จัดโครงการ “การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาผ่านกระบวนการวิจัยโดยบูรณาการกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และการจัดตั้งสหกรณ์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” 20 พฤษภาคม 202520 พฤษภาคม 2025อุบลรัตน์ อินพาลำข่าวประชาสัมพันธ์, ข่าวสำหรับบุคลากร, ข่าวสื่อสารองค์กร จำนวนผู้ชม : 8 คณะครุศาสตร์ จัดโครงการ “การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาผ่านกระบวนการวิจัยโดยบูรณาการกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และการจัดตั้งสหกรณ์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง" ระหว่างวันที่ 17–18 พฤษภาคม 2568 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จัดโครงการ “การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาผ่านกระบวนการวิจัยโดยบูรณาการกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และการจัดตั้งสหกรณ์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะครุศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา บุญส่ง คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูจากโรงเรียนเอกชน (สช.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษา และจากสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกานต์ ภาคพรต เป็นผู้รับผิดชอบโครงการกิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เช่น การบรรยายในหัวข้อบทบาทของกิจกรรมลูกเสือในการพัฒนาผู้เรียนเชิงคุณธรรมและภาวะผู้นำ โดยอาจารย์ ดร.บุญทิพย์ แป้นทอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ พร้อมกิจกรรม Workshop เรื่องกิจกรรมลูกเสือเพื่อการฝึกวินัย ความรับผิดชอบ และการทำงานเป็นทีม การบรรยายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการศึกษาและการจัดตั้งสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทรา ธนีเพียร อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการพร้อมกิจกรรม Workshop เรื่องการออกแบบแผนการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสหกรณ์ในชั้นเรียน การบรรยายการบูรณาการกิจกรรมลูกเสือกับกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและกิจกรรม Workshop การออกแบบกรอบการวิจัยจากกิจกรรมลูกเสือที่บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงการจัดโครงการในครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะครุศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนให้สามารถนำนวัตกรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ไปใช้ในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine