โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยเพื่อประกอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 6 สิงหาคม 20246 สิงหาคม 2024อุบลรัตน์ อินพาลำข่าวประชาสัมพันธ์, ข่าวสำหรับบุคลากร, ข่าวสื่อสารองค์กร จำนวนผู้ชม : 11 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยเพื่อประกอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยเพื่อประกอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน Fundamental Fund (FF) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 และ Strategic Fund (SF) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เมื่อวันที่ 27 – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 5 โรงเรียนการอาหารนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีนักวิจัยซึ่งเป็นคณาจารย์จากทั้ง 8 คณะ เข้าร่วม การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้อยู่ภายใต้โครงการยกระดับการบริหารจัดการงานวิจัยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ที่มีเป้าหมายเป็นจำนวนงานวิจัย และจำนวนเงินวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก ซึ่งกลยุทธ์สำคัญที่จะนําไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย คือการสร้างเสริมองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย พัฒนาโจทย์วิจัยในลักษณะบูรณาการ และพัฒนาการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้มี ความสมบูรณ์ตรงตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่แหล่งทุนกำหนด เพื่อนำมาสู่การได้รับจัดสรร ทุนวิจัยที่มีประสิทธิผล และตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มอบหมายให้หน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม (Program Management Unit : PMU) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการขอรับทุนสนับสนุน การวิจัยดังกล่าว และทุนอื่นๆ ที่จะเปิดรับ โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดกลุ่มนักวิจัยและพัฒนาแผนงาน/โครงการวิจัย ตามประเด็นหรือแผนงานที่แหล่งทุนเปิดรับข้อเสนอโครงการ พัฒนาสมรรถนะนักวิจัยด้านการเขียนแผนงาน/โครงการวิจัย เพื่อให้สามารถขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกได้ สำหรับการอบรมในครั้งนี้ เป็นการอบรมในระยะที่ 4 เป็นการปรับปรุง Full Proposal โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรมีความสามารถจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้แก่ ท่านอาจารย์สุนันทา สมพงษ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ สมพงษ์ , คุณธงชัย พงษ์วิชัย และคุณกนกวรรณ ขับนบ ซึ่งคณะวิทยากรทุกท่านเป็นผู้ให้คำแนะนำในการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพได้อย่างดียิ่ง และให้ความอนุเคราะห์กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีด้วยดีมาโดยตลอด โดยการอบรมในระยะที่ 4 เป็นการปรับปรุง Full Proposal ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะส่งข้อเสนอให้แก่หน่วย PMU ต่าง ๆ ต่อไป #มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี#ราชภัฏเพชรบุรีกับการพัฒนาระบบการบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพ#100ปีราชภัฏเพชรบุรี Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine