มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกับชาวบ้านหนองกะปุ อนุรักษ์และสืบสานประเพณีท้องถิ่นที่หาชมได้ยาก “มหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอย” 2 กันยายน 20242 กันยายน 2024อุบลรัตน์ อินพาลำข่าวงานบริหารงานบุคคล, ข่าวประชาสัมพันธ์, ข่าวสื่อสารองค์กร จำนวนผู้ชม : 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกับชาวบ้านหนองกะปุ อนุรักษ์และสืบสานประเพณีท้องถิ่นที่หาชมได้ยาก “มหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอย” วันที่ 1 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย บุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองกะปุและพื้นที่ใกล้เคียง ให้การต้อนรับนางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดมหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอย ตำบลหนองกะปุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ วัดโพธิ์ลอย และชุมชนหนองกะปุ ร่วมกันจัดงานมหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอย ภายใต้การพัฒนาศักยภาพชุมชน Soft Power บนพื้นฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านประเพณี ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพของชุมชนด้วยอัตลักษณ์ของชุมชนหนองกะปุให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ฟื้นฟู ส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์ประเพณี สลากภัตให้เป็นที่รู้จัก เพื่อให้เป็น Soft Power ด้านเทศกาลประจำจังหวัดเพชรบุรีในการขับเคลื่อนชุมชน Soft Power ที่ได้มาซึ่งผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรม เกิดองค์ความรู้อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การทำขนมวันสุกดิบ ประวัติประเพณีสลากภัต มีผลิตภัณฑ์ Soft Power ที่นำอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า เช่น ลายเสื้อสลากภัต” ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เผยว่า “มหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอยในปี้ มีจำนวนสลากหาบมากกว่า 800 หาบ ขบวนเกวียนและวัวสวยงาม 10 ขบวนจาก 10 หมู่บ้าน การสาธิตการทำขนมอาหารพื้นบ้าน การสาธิตการจักสาน การถักเชือกทาม การปั้นหัว ซึ่งหาได้ดูได้ยากแต่ในพื้นที่ยังคงมีการอนุรักษ์และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดเครือข่ายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เสริมสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคี โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการอนุรักษ์และต่อยอดงานเทศกาล นอกจากนี้ยังเป็นการขับเคลื่อนประเพณีในด้านวิชาการด้วยการจัดการองค์ความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์เพื่อใช้เป็นองค์ความรู้และเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน” สำหรับงานบุญสลากภัต คือ การจัดอาหารคาว อาหารหวานและผลไม้ มาถวายแด่พระสงฆ์ด้วยวิธีการจับสลาก โดยมิได้เจาะจงว่าพระสงฆ์รูปใดจะเป็นผู้รับ นิยมจัดระหว่างช่วงเข้าพรรษา ซึ่งในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ในจังหวัดเพชรบุรีเรียกประเพณีสลากภัต ซึ่งเรียกตามภาชนะที่ใส่และวิธีการเคลื่อนย้ายของไปถวาย เช่น สลากหาบ สลากหาม สลากกระเดียดที่มีการตกแต่งอย่างสวยงาม #มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี #ราชภัฏเพชรบุรีกับการพัฒนาระบบการบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพ#100ปีราชภัฏเพชรบุรี Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine