PBRU for COVID-19

PBRU for COVID-19

             โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีการแบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 3 ส่วน คือ นักศึกษา บุคลากร และชุมชน โดยได้มีการจัดโครงการ/กิจกรรม เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบดังต่อไปนี้

PBRU ช่วยเหลือนักศึกษา

“มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ช่วยเหลือนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบในช่วง CIVID”

ลดค่าบำรุงการศึกษา

โดยมหาวิทยาลัยฯได้ให้การช่วยเหลือนักศึกษาโดยการลดค่าบำรุงการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 

ผ่อนผันการชำระค่าบำรุงการศึกษา

– นักศึกษาสามารถผัดชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาได้ใน 6 เดือน และหากมีความจำเป็นสามารถขอขยายเวลาเพิ่มได้อีก 6 เดือน รวมเป็น1ปี
– นักศึกษาสามารถผ่อนชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาได้เป็น 3 งวด

จัดการเรียนการสอนออนไลน์

โดยมหาวิทยาลัยฯ ประกาศให้ใช้วิธีการสอนออนไลน์ด้วยระบบ PBRU-LMS,ZOOM, Microsoft Team, Google Classroom,Webex ฯลฯ พร้อมทั้งได้มีการสำรวจความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา

ปรับรูปแบบการเก็บชั่วโมงกิจกรรม

โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการปรับรูปแบบการเก็บชั่วโมงกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษาเป็นรูปแบบออนไลน์

ยกเว้นค่าปรับการคืนหนังสือ

มหาวิทยาลัยฯได้ประสานกับสำนักวิทยบริการฯ เพื่อให้การยกเว้นค่าปรับในการยืมหนังสือภายในห้องสมุดของสำนักวิทยบริการฯ

ฉีดพ่นน้ำยา

งานหอพักนักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา ดำเนินการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ เชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ในบริเวณหอพักของมหาวิทยาลัยฯในทุกหอพัก

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกงาน

ปรับเปลี่ยนกำหนดระยะเวลาหรือจัดกิจกรรมอื่นที่เหมาะสมทดแทน กรณีที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ (WIL)หรือสหกิจศึกษาและยังไม่ครบกำหนดเวลาให้หลักสูตรฯ ประสานกับนักศึกษาและสถานประกอบการเพื่อหาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมร่วมกัน

มอบทุนการศึกษา

โดยมหาวิทยาลัยฯได้มีการมอบทุนการศึกษาช่วยเหลือนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในปีการศึกษา 2563

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการรายงานตัวของนักศึกษา

โดยมหาวิทยาลัยฯได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรายงานตัวของนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2563 ให้เป็นรูปแบบออนไลน์

สนับสนุนซิมการ์ดเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์

โครงการ Education Sim สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์

บริการส่งนักศึกษาหอพัก

บริการส่งนักศึกษาหอพักภายในของมหาวิทยาลัยฯ กลับภูมิลำเนาโดยรถของมหาวิทยาลัยฯ

PBRU ช่วยเหลือบุคลากร

ทำประกันสุขภาพ

มอบสวัสดิการประกันคุ้มครองการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) แก่คณาจารย์และบุคลากร  โดยมีอายุกรมธรรม์ 1 ปี ซึ่งในกรณีที่เข้ารักษาพยาบาลจะได้รับวงเงินคุ้มครอง 50,000 บาทต่อปี ส่วนกรณีที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสฯ จะได้รับวงเงินคุ้มครอง 100,000 บาท

ระบบตรวจคัดกรอง

โดยมหาวิทยาลัยฯได้มีการจัดระบบคัดกรองบุคลากรเมื่อกลับมาทำงานปกติ รวมถึงมีการตั้งจุดคัดกรอง/วัดอุณภูมิบริเวณทางเข้า-ออก หน้ามหาวิทยาลัยฯ

สนับสนุน Work Form Home

ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มหาวิทยาลัยฯให้บุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน หรือ Work from Home เพื่อเลี่ยงต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการเดินทางรวมถึงการพบปะผู้คนรวมถึงมีการใช้มาตรการ Social Distancing 

แจกเจลแอลกอฮอร์ / หน้ากากผ้า

โดยมหาวิทยาลัยฯได้ดำเนินการจัดทำเจลแอลกอฮอร์เพื่อแจกให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรวมถึงมีการแจกหน้ากากผ้าอนามัย

“ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้ร่วมช่วยเหลือคณาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ฯ .”

ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื่อโรค

มหาวิทยาลัยฯได้จัดให้มีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค บริเวณห้องเรียน ห้องสำนักงาน ห้องประชุม บริเวณลิฟท์ ทางเดิน และห้องน้ำของอาคารต่างๆ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อและลดการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

มีการจัดให้มีการใช้ระบบประชุมแบบออนไลน์

มหาวิทยาลัยฯได้จัดการประชุมต่างๆภายในมหาวิทยาลัยฯในรูปแบบออนไลน์ เช่น การประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี / การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ฯลฯ

PBRU ช่วยเหลือสังคม

“มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ร่วมช่วยเหลือสังคม เนื่องจากผลกระทบจากช่วง CIVID"

ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์

  • เจลแอลกอฮอร์ฆ่าเชื่อ 
     โดยมหาวิทยาลัยฯได้กิจกรรมจิตอาสาเพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชนการทำเจลล้างมือเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019
  • Face Shield 

    มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ได้ร่วมผลิตหน้ากากป้องกันใบหน้า (face shield) จำนวน 3,000 ชิ้น ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และที่แจ้งความประสงค์จำนวน 44 แห่ง

  • ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยระบบ UV – C15  

    โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้คิดค้นและร่วมกันผลิตนวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C แบบกล่องขนาดเล็กและมอบให้กับสถานพยาบาลต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 30 ตู้

  • ต้นแบบประตูสแกนตรวจคัดกรองอุณหภูมิแบบเดินผ่าน

    โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้คิดค้นและร่วมกันผลิตนวัตกรรมในการเฝ้าระวังและคัดกรองบุคคลหรือผู้ป่วยที่มีไข้สูงอาศัยหลักการทำงานของรังสีอินฟาเรด หรือคลื่นรังสีความร้อน ที่สามารถสแกนอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์ในช่วง 30-50 องศาเซลเซียส จำนวน 1 ตู้

  • ต้นแบบระบบทำน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วยกรดไฮโปคลอรัสเข้มข้นจากน้ำเกลือด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส

    ซึ่งเป็นการแยกสลายเกลือที่ละลายอยู่ในน้ำด้วยไฟฟ้าให้กลายเป็นสารฆ่าเชื้อโรคได้อย่าง “เกลือโซเดียมของกรดไฮโปคลอรัส” ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และรา สารชนิดนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์รวมถึงผิวที่บอบบาง จำนวน 1 ระบบ

  • Laryngoscope

    โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้จัดทำตัวด้ามจับและbladeให้กับโรงพยาบาลเพื่อนำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย

  • ตู้ความดันลบสำหรับคัดกรองผู้ป่วย

    โดยตู้จะช่วยควบคุมเชื้อโรคในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์กำลังเก็บตัวอย่างเชื้อในช่องปาก (swab) ของผู้ป่วย ตู้จะทำหน้าที่ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคให้อยู่แต่เฉพาะในตู้  ซึ่งภายในตู้จะมีเครื่องดูดอากาศผ่าน HEPA Filter จำนวน 2 ตู้

  • ต้นแบบหุ่นยนต์สู้ โควิด-19“น้องปฐมพยาบาล”  

    นวัตกรรมเครื่องนี้จะมีขีดความสามารถในการลำเลียงส่งอาหาร ยา เสื้อผ้า ตรวจวัดอุณหภูมิ แก่ผู้ป่วย หรือผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส  จำนวน  3 เครื่อง

  • นวัตกรรมต้นแบบเครื่องปรับอากาศสำหรับชุด PPE

    มีประโยชน์ในการระบายอากาศให้บุคลากรทางการแพทย์ขณะที่สวมใส่ชุด PPE เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการสวมชุด PPE จำนวน 3 เครื่อง

  • ต้นแบบเครื่องฟอกอากาศและฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีแผ่นกรองอากาศ HEPA ร่วมกับ UV-C
    ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอากาศพร้อมฟอกอากาศเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อทางอากาศจากห้องความดันลบหรือห้องที่มีความเสี่ยงสูง จำนวน 10 เครื่อง

ตู้ปันสุข

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยกองพัฒนานักศึกษา ได้จัดตู้สำหรับแบ่งปันสิ่งของ อุปโภค บริโภคแก่ผู้ได้รับผลกระทบช่วงวิกฤตโควิด

เป็นโรงพยาบาลสนาม และศูนย์กักตัวบุคคลเสี่งในพื้นที่

มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมสถาณที่เพื่อเป็นโรงพยาบาลสนาม รองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในระยะกักตัวดูอาการ

ให้ความรู้เกี่ยวกับ C0VID-19 ผ่านสื่อออนไลน์

  • คลิปวีดีโอ สื่อรณรงค์การล้างมือ
  •  แต่งเพลงและ MV ให้กำลังใจ
  • สื่อรณรงค์อื่นๆ ผ่านช่องทางออนไลน์
ผลิตสื่อ

จัดทำหลักสูตร Non Degree สนับสนุนให้บัณฑิตมีงานทำ

มหาวิทยาลัยฯได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non degree) ซึ่งจะเน้นเป็นหลักสูตรเพิ่มทักษะรองรับงานหลังวิกฤต COVID-19 

ประมวลภาพโครงการ / กิจกรรมต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยฯดำเนินการ